จุลทรรศน์ชนิดที่พบได้มากที่สุด คือกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (optical microscope) และยังมีกล้องอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังการขยายสูงมาก
ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์แบบแสง
1. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ
2. แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน
3. ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ เพื่อเปลี่ยนเลนส์ขนาดต่างๆ
4. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
5. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
6. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
7. เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่งไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
8. เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
9. กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุ โดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
10. ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
11. แท่นวางวัตถุ (Speciment stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
12. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น
ชนิดของกล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ
กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (Optical microscopes)
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope)
กล้องจุลทรรศน์ชนิดที่พบได้มากที่สุด คือชนิดที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (optical microscope) เป็นอุปกรณ์ใช้แสงอย่างหนึ่ง มีเลนส์อย่างน้อย 1 ชิ้น เพื่อทำการขยายภาพวัตถุที่วางในระนาบโฟกัสของเลนส์นั้นๆ
การเกิดภาพจากกล้องจุลทรรศน์
ข้อสังเกต
- วัตถุอยู่หน้าเลนส์ใกล้วัตถุ อยู่ระหว่างจุด F และ 2F ของเลนส์ใกล้วัตถุ เกิดภาพแรกเป็นภาพจริง หัวกลับขนาดขยาย
- ภาพแรกที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุ จะทำหน้าที่เป็นวัตถุของเลนส์ใกล้ตา โดยมีระยะวัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา ทำให้เกิดภาพสุดท้ายเป็นภาพเสมื่อนขนาดขยายหัวกลับเมื่อเทียบกับวัตถุจริง
-กล้องจุลทรรศน์ มีระยะห่างระหว่างเลนส์ทั้งสองเท่ากับ S'o + SE
-กำลังขยายขแงกล้องจุลทรรศน์ เท่ากับ กำลังขยายเลนส์ใกล้วัตถุ x กำลังขยายเลนส์ใกล้ตากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังการขยายสูงมาก เพราะใช้ลำแสงอิเล็กตรอนแทนแสงปกติและใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว เป็นกล้องที่ใช้ในการศึกษาโครงสร้าง และส่วนประกอบของเซลล์ ได้อย่างละเอียดที่กล้องชนิดอื่นไม่สามารถทำได้ วัตถุบางอย่างมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะสังเกตให้เห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ แบบใช้แสง จึงต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในการสังเกต กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนใช้ลำอิเล็กตรอนแทนรังสีของแสง ซึ่งภาพจะปรากฏบนจอเรืองแสง และสามารถบันทึกภาพได้โดยง่าย
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนโดยทั่วไปมีกำลังขยายสูงถึง 500,000 เท่า ทำให้สามารถมองเห็นโครงสร้างภายในเซลล์ได้อย่างละเอียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น