กล้องโทรทัศน์

 กล้องโทรทรรศน์ 
    
เป็นกล้องที่ใช้ดูวัตถุที่อยู่ไกลๆ เช่น เรียกว่ากล้องส่องทางไกล  กล้องดูดาว กล้องโทรทรรศน์แบ่งออกเป็น
   กล้องโทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูวัตถุที่อยู่ไกล ประกอบด้วยเลนส์ เลนส์ มี ประเภท คือกล้องโทรทรรศน์หักเห  และกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง
กล้องโทรทรรศน์หักเห (Refracting telescope) ใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้วัตถุมีความยาวโฟกัสมากอาจจะถึงหลาย ๆ เมตร เนื่องจากวัตถุที่ต้องการดูอยู่ไกลมากดังนั้นภาพที่เกิดจึงตกที่จุดโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุเป็นวัตถุเสมือนของเลนส์ใกล้ตาโดยใช้เลนส์เว้าหรือเลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้ตาก็ได้ วัตถุเสมือนนี้จะอยู่ระหว่างจุดโฟกัส ของเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ ดังนั้นภาพสุดท้ายที่เกิดขึ้นจะได้ภาพเสมือนขนาดขยาย กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflecting telescope)ใช้กระจกเว้ารูปพาราโบลาที่ไม่มีความคลาด เป็นตัวสะท้อนแสงใกล้วัตถุ ภาพที่ได้เกิดขึ้นที่ จุดโฟกัสใช้กระจกนูนเป็นตัวสะท้อนครั้งที่สองเกิดภาพเสมือนขนาดขยาย
กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง 
      หลักการพื้นฐานประกอบด้วยเลนส์  2 อัน  คือ เลนส์ใกล้วัตถุ ทำด้วยเลนส์นูนมีความยาวโฟกัส (fo ) ยาวมาก  วัตถุซึ่งอยู่ไกลมากจะมีรัศมีรังสีแสงขนานมาตกกระทบเลนส์ใกล้วัตถุ แล้วหักเหไปเกิดภาพจริงตรงตำแหน่งที่ใกล้กับจุดโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ โดยมีมุมรองรับรังสีหักเหที่มาตัดกันเกิดภาพ เลนส์ใกล้ตา ทำด้วยเลนส์นูนมีความยาวโฟกัส( fe ) สั้น วางเลนส์ใกล้ตาโดยให้ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุ อยู่ระหว่างจุดโฟกัสของเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ตา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดภาพเสมือน ขนาดขยาย หัวกลับ  เมื่อเทียบกับวัตถุจริง

กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง
หลัก การของกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสง  เช่น กล้องดูดาวที่ใช้กระจกเป็นหลัก กล้องจะรับแสงที่เข้ามากระทบกับกระจกเว้าที่อยู่ท้ายกล้องที่เราเรียกว่า Primary Mirror แล้วรวมแสงไปกระทบกับกระจกระนาบหรือปริซึม เราเรียกว่า Secondary Mirror ที่อยู่กลางลำกล้อง ให้สะท้อนเข้าสู่เลนซ์ตาขยายภาพอีกทีหนึ่ง

โดยหลักการคำนวนอัตราการขยายคือ

อัตราขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสของกระจกเว้า / ความโฟกัสของเลนซ์ตา



ข้อดีของกล้องชนิดนี้

1. ใช้กระจกเว้าเป็นตัวรวมแสง ทำให้สามารถสร้างขนาดใหญ่มากๆได้ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าเลนซ์ที่มีขนาดเท่ากัน
2. โดยทั้วไปกล้องชนิดนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 นิ้วขึ้นไป ทำให้มีการรวมแสงได้มากเหมาะที่จะใช้สังเกตวัตถุระยะไกลๆ เช่น กาแลกซี เนบิวล่า เพราะมีความเข้มแสงน้อยมาก
3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบสะท้อนแสง จะไม่กลับภาพซ้ายขวาเหมือนกล้องแบบหักเหแสง แต่การมองภาพอาจจะ หัวกลับบ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะการมองจากกล้องเพราะเป็นการมองที่หัวกล้อง ไม่ใช่ที่ท้ายกล้อง เหมือนกล้องแบบหักเหแสง

ข้อเสียของกล้องชนิดนี้

1. การสร้างนั้นยุ่งยากซับซ้อนมาก
2. มีกระจกบานที่สองสะท้อนภาพอยู่กลางลำกล้อง ทำให้กีดขวางทางเดินของแสง หากเส้นผ่านศูนย์กลาง กล้องเล็กมากๆ ดังนั้นกล้องแบบสะท้อนแสงนี้จะมักมีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 4.5 นิ้วขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น